ขัดเงาแต่งชิ้นงาน
- Details
- Category: แหล่งความรู้
- Published on Friday, 03 August 2012 08:54
- Written by Super User
- Hits: 5858
การขัดผิวละเอียดขั้นสุดท้าย
เป็นขั้นตอนการขัดเงาโดยใช้ล้อขัดผ้าสักหลาด โดยใช้ยาขัดเงา เรียกว่า ยาแดง ยาขาว
ซึ่งจะทำให้ผิวเรียบเงาวาว สวยงาม
การแต่งชิ้นงาน การขัดเงาชิ้นงาน
ล้างปูนปลาสเตอร์และตัดชิ้นงาน
- Details
- Category: แหล่งความรู้
- Published on Friday, 03 August 2012 08:51
- Written by Super User
- Hits: 4570
การล้างปูนและทำความสะอาด
ในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะล้างปูนออกปล่อยให้กระปูนเย็นตัวลงและให้โลหะแข็งตัวสมบูรณ์ โดยทิ้งไว้ประมาณ3?4 นาที ถ้านานกว่านี้ หรือเย็นจนเกินไปจะทำให้ล้างปูนออกจากกระบอกยาก เมื่อได้เวลา ใช้คีมคีบกระบอกปูนไปจุ่มลงในน้ำ ปูนจะหลุดออกมา โดยง่าย จากนั้น นำไปล้างด้วยเครื่องฉีดล้างปูนแรงดันสูง จะทำให้ปูนที่ติดอยู่ตามซอกมุมแคบๆหลุดออกหมด
|
การตัดชิ้นงานหล่อ
ขั้นตอนนี้เป็นการตัดแต่งเอาเฉพาะงานหล่อออกจากส่วนที่เป็นกิ่งก้านรูเทรูล้น และรวมไปถึงขั้นตอนการตะไบแต่งผิวส่วนที่ไม่เรียบออกไป ชิ้นงานหล่อจะถูกตัดโดยใช้เครื่องมือตัด เพื่อแยกชิ้นงานออกจากต้นไม้หรือฐานของมัน
หล่อปูนปลาสเตอร์
- Details
- Category: แหล่งความรู้
- Published on Friday, 03 August 2012 08:42
- Written by Super User
- Hits: 5529
ต้นเทียนในกระบอกปูนเตรียมหล่อ เบ้ามีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกที่ทำมาจากเหล็ก หรืออาจเป็นวัสดุที่ดีกว่าคือสแตนเลส โดยจะถูกวางไว้ในตำแหน่งที่ตั้งตรงและพอเหมาะกับตัวฐาน ซึ่งถูกทำขึ้นมาสำหรับรองรับแบบตัวอย่าง Wax โดยรอบ
ผสมปูนด้วยเครื่องผสมปูนสูญญากาศ
ผสมน้ำและปูนในปริมาณและสัดส่วนตามที่ต้องการ เข้าไปในเครื่องผสมปูน เพื่อให้ได้ความหนาแน่นที่สม่ำเสมอกัน ไม่ให้เกิดฟองอากาศ
ในขั้นตอนของการเทปูนลงเบ้านี้ ตัวปูนจะถูกเทเข้าไปในเบ้าอย่างระมัดระวังและไม่ให้กระทบกับแบบตัวอย่าง Wax แต่ละเบ้าที่ได้เทปูนลงไปแล้วจะถูกวางใต้ปล่องสุญญากาศที่ซึ่งสุญญากาศจะถูกปล่อยออกมาจากปั๊มสุญญากาศ ในขั้นตอนนี้จะเป็นการเคลื่อนย้ายหลุมหรือฟองอากาศที่ติดอยู่ในเบ้าอีกครั้ง
***หมายเหตุ****
หากฟองอากาศยังไม่สามารถกำจัดออกไปได้ ฟองอากาศเหล่านี้ จะทำให้เกิดความเสียหายเมื่อทำการหล่อ เนื่องจากในขณะที่โลหะร้อนถูกเติมเข้าไปในโพรง/ช่องว่างของแบบตัวอย่าง ช่องอากาศส่วนเกินที่อยู่รอบๆแบบตัวอย่างจะถูกเติมเต็มด้วยโลหะเช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดรอยนูนของโลหะที่ไม่ต้องการติดอยู่ที่แบบตัวอย่างสำหรับงานหล่อด้วย
เทหล่อ
- Details
- Category: แหล่งความรู้
- Published on Friday, 03 August 2012 08:49
- Written by Super User
- Hits: 5726
อบกระบอกปูนในเตาอบให้ปูนมีความร้อนก่อนนำไปหล่อ |
นำ กระบอกปูนที่อบให้เทียนละลายออกหมดแล้วเข้าในเตาอบอุณหภูมิสูง โดยปรับระดัอุณหภูมิให้เพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได จากต่ำไปหาสูง การอบครั้งนี้เพื่อปรับระดับอุณหภูมิของกระบอกปูนไม่ให้ต่ำจนเกินไปเพื่อไม่ให้ระดับความแตกต่างของอุณหภูมิของโลหะเหลวกับแบบปูน มีความแตกต่างกันจนเกินไปอุณหภูมิที่ใช้ประมาณ400 ? 450 องศาเซนเซียสเวลาที่ใช้ในการอบประมาณ 8 ชั่วโมง |
กระบอกปูนที่อุณหภูมิได้ที่นำเข้าเครื่องเทหล่อ |
การ หลอมโลหะ การหลอมสามารถทำได้โดยการใช้เตาหลอม สำหรับวิธีการแบบเดิมสำหรับการหล่อเหวี่ยงคือการหลอมโดยใช้หัวเชื่อมแก๊สเผา โลหะให้หลอมละลายโดยตรง ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมได้ และน้ำโลหะอาจมีสิ่งเจือปนในระหว่างทำการหลอม ถ้าหากคุณภาพน้ำโลหะไม่ดีก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อชิ้นงานหล่อที่ได้ |
เท่หล่อโลหะด้วยเครื่องเทหล่อ |
เมื่อโลหะหลอมละลายอุณหภูมิได้ที่แล้วใช้คีมคบกระบอกปูนที่อยู่ในเตาอบออกจากเตาซึ่งในขณะนั้นจะมีอุณหภูมิประมาณ450-500องศาเซนเซียส นำมาวางเข้ากับเครื่องหล่อเหวี่ยง พร้อมเบ้าที่จะรองรับน้ำโลหะซึ่งถูกอบให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับน้ำโลหะจากนั้นนำโลหะเหลวเทลงในเบ้าที่ประกอบเครื่องเหวี่ยง เมื่อเทเสร็จแล้วเปิดเครื่องเหวี่ยงทำงาน เพื่อเหวี่ยงเอาน้ำโลหะเข้าไปในเบ้าหลอม ซึ่งจะใช้เวลาในการเหวี่ยงทั้งสิ้นประมาณ 30 วินาที ? 1 นาที |
ติดต้นเทียน
- Details
- Category: แหล่งความรู้
- Published on Friday, 03 August 2012 08:39
- Written by Super User
- Hits: 6358
เตรียมต้นเทียน นำแบบเทียนที่ได้มาติดต้น
แบบเทียนที่ได้จากการฉีดและแต่งเรียบร้อยแล้วจะนำมาติดโดยรอบต้นโดยใช้หัวแร้งไฟฟ้าช่วยในการประสาน หรือใช้ชุดหมอฟันลนไฟตะเกียงแอลกอฮอล์ เมื่อติดต้นเสร็จแล้วก่อนที่จะนำไฟสวมประกอบเข้ากับกระบอกเหล็ก ให้ล้างต้นเทียนด้วยน้ำยาล้างจำพวกแป้งและซิลีโคนออก ซึ่งน้ำยาล้างจะทำหน้าที่เคลือบผิวเทียนให้เรียบเงาทำให้ผิวงานหล่อที่ได้มีคุณภาพดี